top of page

การเชื่อมจุด
Spot Welding

                    เป็นกระบวนการเชื่อมที่ได้รับความร้อนจากอาร์กระหว่าง หัวอาร์กบน (Upper Electrode) และหัวอาร์กล่าง (Lower Electrode) กับชิ้นงาน (Workpieces) โดยมากชิ้นงานจะเป็นแผ่นโลหะที่มีความหนาเท่ากัน หรือ มีความหนาต่างกันไม่เกินอัตรา 3 : 1 

 

                    หัวอาร์ก (Electrode) ทำจากแท่งทองแดง 2 แท่ง แต่งปลายให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสที่มีขนาดพอเหมาะ และถูกกดด้วยแรงกดหัวอาร์ก (Electrode Force) ลงไปที่ชิ้นงานความร้อนเกิดจากกระแสไฟเชื่อมสูง (Current Flow) ไหลผ่านหัวอาร์ก และจุดสัมผัสระหว่างชิ้นงาน (Nugget ) เกิดความต้านทานที่จุดสัมผัสนั้นทำให้ชิ้นงานหลอมละลายติดกันหากมีระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่หัวอาร์กและแขนเชื่อม ช่วยเพิ่มชั่วโมงการทำงานและอายุการใช้งานของหัวอาร์กและแขนเชื่อม

เกร็ดความรู้_รูป_การเชื่อมจุด-2
เกร็ดความรู้_รูป_กระบวนการเชื่อมจุด

กระบวนการเกิดอาร์ก

1. ประกบโลหะชิ้นงานให้เกยกัน 2 แผ่น สอดเข้าระหว่างหัวอาร์กบน และหัวอาร์กล่าง

2. กดหัวอาร์กลงมาสัมผัสชิ้นงาน โดยแรงกดค่อยๆ เพิ่มขึ้น เราเรียกช่วงเวลานี้ว่าเวลากดชิ้นงาน (Squeeze Time) ผิวของแผ่นโลหะชิ้นงานจะสัมผัส

     กันในช่วงเวลานี้

3. เมื่อแรงกดเพิ่มขึ้นถึงค่าที่กําหนด กระแสไฟเชื่อมเริ่มไหลผ่านชิ้นงาน ตามเวลาเชื่อมที่กําหนด (Weld Time) การตั้งเวลาเชื่อม จะกําหนดเป็นจํานวน

     คาบเวลา (Cycle) เช่น ถ้าความถี่ไฟฟ้าเป็น 50 เฮิรต์ซ หนึ่งคาบเวลาจะเท่ากับ 0.02 วินาที จํานวนคาบเวลา (Cycle) จะเพิ่มขึ้นตามความหนาของ

     ชิ้นงาน

4. เมื่อครบกําหนดเวลาเชื่อม กระแสไฟเชื่อมจะหยุดไหล โดยหัวอาร์กยังคงกดชิ้นงานอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ช่วงเวลานี้แนวเชื่อมจะค่อยๆ เย็นลง แนว

      เชื่อมประสานกันและ มีความแข็งแรงขึ้น เราเรียกช่วงเวลานี้ว่าเวลาเย็นตัว (Hold Time)

5. ยกหัวอาร์กขึ้น

6. จบกระบวนการเชื่อม

การติดตั้งเครื่องเชื่อมจุด

เกร็ดความรู้_รูป_การติดตั้งเครื่องจุด
bottom of page